ลด 10% ทุกการรักษาสำหรับการเคลียร์ช่องปากยกเว้น จัดฟันฟันปลอม รากฟันเทียม และ รีเทนเนอร์ ตรวจฟันฟรี วางแผนจัดฟันฟรี
ทันตแพทย์เฉพาะทางคือทันตแพทย์ที่เรียนจบปริญญาตรีแล้ว และเลือกเรียนต่อเฉพาะทางเพิ่มเติมในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหลักสูตรเต็มเวลา 2-4 ปี ได้รับการศึกษาพร้อมการฝึกปฏิบัติวางแผนการรักษาและทำการรักษาในผู้ป่วยที่หลากหลาย สภาวะปัญหา ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และเป็นการฝึกตัั้งแต่เริ่มเคสจนจบเคส จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ ภายหลังการจบการศึกษา จะได้รับการรับรองโดยสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย นอกจากนี้จะสามารถเข้าสอบวุฒิบัตรหรืออนุบัตร เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆต่อไป ซึ่งจะได้รับรองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้จึงสามารถตรวจสอบรายชื่อทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ https://www.royalthaident.org/specialist/?specialty_id=4
ด้วยเหตุนี้ จึงมั่นใจได้เลยว่าการรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทาง จะได้รับการวางแผนการรักษาที่แม่นยำ ได้รับคำแนะนำที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนทำการรักษา ช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จ ไม่ต้องเสียเวลา หรือจัดฟันใหม่หลายๆรอบ
What should you do before you get braces?
1. หาคลินิกที่สนใจอาจดูจากรีวิว หรือคลินิกที่เราชอบ โดยควรเป็นคลินิกที่คนเราเดินทางได้สะดวกเพราะการจัดฟันต้องพบคุณหมอเพื่อปรับเครื่องมือทุกเดือน ที่สำคัญคืออย่าลืมเช็คดูว่าคุณหมอจบเฉพาะทางด้านจัดฟันหรือไม่โดยตรวจสอบรายชื่อคุณหมอได้ตามลิงค์นี้เลยค่ะ https://www.royalthaident.org/specialist/?specialty_id=4)
2. นัดพบทันตแพทย์เพื่อให้คุณหมอตรวจประเมินและวางแผนการรักษา หากคนไข้ตัดสินใจรับการรักษา คุณหมอจะทำการสแกนปาก และเอกซเรย์ เพื่อประเมินการสบฟันอย่างละเอียด
3. เคลียร์ช่องปาก เช่น อุดฟันที่ผุ ผ่าฟันคุด และ ขูดหินปูน
4. เมื่อพร้อมแล้วก็ติดเครื่องมือได้เลยค่า ที่สำคัญอย่าลืมมาพบคุณหมอตามนัดทุกเดือนเพื่อให้ฟันเป็นไปตามแผนการรักษานะค้า
1. You should seek an orthodontic clinic that you feel comfortable with especially in terms of the distance because you have to see the dentist every month. Moreover, for your benefit, you should validate the credentials of the dentist if he or she s really an orthodontic expert. You can verify this by going to https://www.royalthaident.org/specialist/?specialty_id=4)
2. Make an appointment to see an orthodontist. Talk with the orthodontist all your available options and cost of treatment. If you decide to get braces, the dentist will take an x-rays, photos, an impression of your teeth.
3. Have your teeth cleaned, filled, and also extracted as recommended by the orthodontist.
4. Your orthodontist will put the braces on each tooth with a special glue, then affixing the arch wire.
หลักๆแล้ว เครื่องมือจัดฟันแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ เครืองมือจัดฟันแบบถอดได้และเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น
เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ มีข้อดี คือ สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ง่ายกว่า แต่ควบคุมการเคลื่อนฟันได้น้อยกว่า และมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ไว้ตลอด ถอดเครื่องมือเฉพาะเวลาทานอาหารและทำความสะอาดช่องปากเท่านั้น ความสำเร็จของการเคลื่อนฟันจึงขึ้นกับความร่วมมือของผู้ป่วยเป็นสำคัญ หากผู้ป่วยให้ความร่วมมือดี ความสำเร็จของการรักษาก็จะมีมากขึ้น นอกจากนี้เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้จะทำให้เกิดอาการที่มีน้ำลายมากกว่าปกติ และพูดไม่ชัด อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นภายใน 1 อาทิตย์ ตัวอย่างของเครื่องมือถอดได้ ได้แก่ เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายและเหมือนรีเทนเนอร์ และเครื่องมือจัดฟันใส โดยเมื่อการรักษาเสร็จสิ้น ในบางกรณีเครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ ยังสามารถเป็นรีเทนเนอร์ได้เลย ไม่จำเป็นต้องทำรีเทนเนอร์ชิ้นใหม่ก็ได้
สำหรับเครื่องมือจัดฟันใส ได้มีการพัฒนาจนสามารถควบคุมการเคลื่อนฟันได้ดีขึ้น และใช้ระยะเวลาในการจัดฟันที่รวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ความสำเร็จของการรักษาขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือในการใส่เครื่องมือตามระยะเวลาที่กำหนดเช่นกัน เดิมค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องมือจัดฟันใสจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ทั้งนี้ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เครื่องมือจัดฟันใสมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง และมีหลายบริษัทให้เลือกใช้ ทั่้งนี้ทันตแพทย์จัดฟันจะพิจารณาความเหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละท่านต่อไปก่อนเลือกวัสดุและแบรนด์จัดฟันใสต่างๆ ความนิยมของจัดฟันใสมีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีสะดวกสบายและสวยงามมากกว่าการจัดฟันด้วยเครื่องมือแบบติดแน่น และใช้ระยะเวลาในการรักษาน้อยกว่า (บางเคส) อีกด้วย
เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น มีข้อดี คือใช้ความร่วมมือของผู้ป่วยน้อยกว่าเครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ สามารถเคลื่อนฟันได้ทุกทิศทุกทาง ตามการวางแผนของทันตแพทย์จัดฟัน แต่จะทำความสะอาดยากกว่า จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์การทำความสะอาดมากกว่าปกติ เครื่องมือจัดฟันติดแน่นในปัจจุบันมีหลายระบบด้วยกัน ได้แก่
จัดฟันด้วยแบร็คเกตโลหะแบบปกติ: เครื่องมือแบบนี้เป็นที่นิยม เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่น้อย สามารถเคลื่อนฟันได้ทุกทิศทุกทาง จำเป็นต้องใช้การรัดลวดให้ติดกับแบร็คเกตเพื่อให้เกิดการเคลื่อนฟัน การรัดด้วยยางสีๆเป็นวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ สามารถทำให้เกิดความสวยงามได้ และสามารถเลือกและเปลี่ยนสียางจัดฟันได้ อย่างไรก็ตาม ยางรัดลวดดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพในระยะ 1 เดือน จึงมีความจำเป็นที่นะต้องมาปรับเครื่องมือจัดฟันทุกๆเดือน หากไม่สามารถมาได้ การรักษาก็จะใช้เวลานานขึ้น
จัดฟันด้วยแบร็คเกตเซรามิค: เครื่องมือแบบนี้ แบร็คเกตจะมีลักษณะใส อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นจะต้องการรัดลวดเช่นเดียวกับการใช้แบร็คเกตโลหะ และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าด้วย
จัดฟันด้วยแบร็คเกตชนิดบานพับ: แบรนด์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Damon ทั้งนี้ยังมีแบรนด์อื่นๆที่มีการทำงานแบบเดียวกัน เช่น Clippy, Ovation, Empower เป็นต้น เครื่องมือชนิดนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้การรัดลวดด้วยอุปกรณ์อื่น เนื่องจากมีบานพับที่สามารถล๊อคลวดได้ในตัว จากงานวิจัย เครื่องมือชนิดนี้ให้ความเจ็บปวดน้อยกว่า และมีประสิทธิภาพในการเรียงฟันที่เร็วกว่าแบบปกติอีกด้วย นอกจากนี้ยังไม่จำเป็นที่ต้องมาปรับเครื่องมือทุกเดือน สามารถมาปรับเครื่องมือทุกๆ 2-3 เดือนได้ตามความสะดวกของผู้ป่วยแต่ละราย
How to take care of your braces
วิธีการดูแลเครื่องมือระหว่างจัดฟัน
1. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งๆ เช่น น้ำแข็ง ถั่ว ลูกอมหมูกรอบ ระหว่างจัดฟัน แต่หากทนไม่ไหว
อยากทานจริงๆแนะนำให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆนะคะ
2. หลีกเลี่ยงอาหารเหนียวๆ เช่น หมากฝรั่ง ท๊อฟฟี่
3. อาหารบางอย่างแม้ไม่แข็งง แต่หากชิ้นใหญ่เกินก็อาจดันเครื่องมือหลุดได้ เช่น ลูกชิ้น หากอยกรับประทาน แนะนำให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆค่ะ
4. หลีกเลี่ยงการใช้ฟันกัดอาหาร
5. หลังติดเครื่องมือ หรือปรับเครื่องมือไปไม่กี่ชั่วโมง อาจมีอาการปวดฟัน สามารถทานยาแก้ปวดชนิดพาราเซตามอลได้ค่ะ
6. แปรงฟันให้สะอาดทุกครั้งหลังทานอาหาร ที่สำคัญอย่าลืมใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้งนะคะ
7. หากมีเครื่องมือหรือลวดทิ่มแนะนำให้เข้ามาพบทันตแพทย์ แต่หากไม่สะดวกสามารถใช้ขี้ผึ้งปั้นเป็นก้อนเล็กๆ แปะบริเวณเครื่องมือที่คมนะคะ
How to take care of your braces ?
1. Avoid hard or sticky foods such as nuts, popcorn, or crunchy fruits and vegetables.
2. Avoid using your teeth to tear foods, you would better cut your food with spoon and fork rather than using your teeth; otherwise they can pop your brackets and bend wire.
3. You may experience some pain or discomfort after the brackets were put on and every month after adjustment. You can take some pain-relief such as paracetamol to reduce pain.
4. Brush your teeth after every meal.
5. If there is any problem during the appointment, do not hesitate to contact your orthodontist.
อยากย้ายที่จัดฟัน ต้องทำยังไงบ้าง
1. อย่างแรกเลยคือต้องเข้ามาให้คุณหมอตรวจประเมินการสบฟันค่ะ จากนั้นคุณหมอจะตรวจดูว่าเครื่องมือที่มีอยู่สามารถใช้ต่อได้โดยไม่ต้องรื้อหรือไม่
2. หากตกลงอยากเริ่มการรักษาคุณหมอจะทำการเอกซเรย์ ถ่ายรูป และแสกนปาก เพื่อใช้ในการตรวจและวิเคราะห์ ปัญหาที่มีอยู่
3. หากเครื่องมือเดิมสามารถใช้ต่อได้ คุณหมอจะทำการปรับเครื่องมือต่อเลยค่ะ แต่หากใช้ไม่ได้ อาจจะต้องมีการรื้อออกบางตัวหรือทั้งหมด แล้วติดเครื่องมือใหม่ค่ะ
เคยสงสัยไหมคะ บางคนย้ายที่จัดฟันทำไมคุณหมอถึงต้องรื้อเครื่องมือเก่าออก ?
โดยปกติจะมี 2 เหตุผลใหญ่ๆค่ะ ที่ทำให้คุณหมอต้องรื้อเครื่องมือเก่าออก
1. เครื่องมือมีขนาดแตกต่างจากที่คุณหมอใช้ เครื่องมือนั้นจะมีหลักๆ 2 ขนาด ซึ่งคุณหมอแต่ละคนจะใช้ขนาดเครื่องมือต่างกัน หากขนาดเครื่องมือไม่ตรงกับที่คุณหมอใช้อยู่อาจจำเป็นต้องรื้อเครื่องมืออก มิฉะนั้นจะใช้ร่วมกับลวดจัดฟันที่คุณหมอมีอยู่ไม่ได้ค่ะ
2. เครื่องมือยังอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม บางกรณีแม้ขนาดเครื่องมือจะเท่ากัน คุณหมออาจจะต้องรื้อเครื่องมือบางตัวออก เพราะการติดเครื่องมือในตำแหน่วที่ไม่เหมาะสมนั้นจะทำให้ฟันเรียงตัวได้ไม่ดีนั่นเองค่ะ
รีเทนเนอร์ คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่คงสภาพฟันและการสบฟันไว้ในตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะถอดเครื่องมือ
ทำไมต้องใส่รีเนเนอร์?
เพราะฟันถูกเคลื่อนตัวไปยังตำแหน่งใหม่ขณะจัดฟัน เนื้อเยื่อยึดฟันและกระดูกล้มรอบรากฟันต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวกับตำแหน่งฟันใหม่นี้ ซึ่งรีเทนเนอร์นี้เองจะช่วยคงฟันไว้ในตำแหน่งใหม่ไหม่นะหว่างที่เนื้อเยื่อปริทันต์และกระดูกกำลังปรับตัว
ถ้าไม่ใส่รีเทนเนอร์จะเกิดอะไรขึ้น?
เนื้อเยื่อยึดรากฟันมีแนวโน้มที่จะดึงฟันกลับสู่ตำแน่งเดิมก่อนเริ่มจัดฟัน ทำให้ฟันกลับไปล้ม ซ้อนเก และมีช่องห่างได้ ทำให้อาจต้องเสียเงินกลับมาจัดฟันใหม่อีกรอบ โดยเฉพาะในช่วงแรกหลังถอดเครื่องมือหากลืมใส่รีเทนเนอร์แค่ 1-2 สัปดาห์ก็ทำให้อาจทำให้ฟันเคลื่อนจนใส่รีเทนเนอร์ไม่ลงได้
ฟันหลอ ถอนฟันไปนานแล้ว แต่ไม่อยากใส่ฟันปลอม ทำยังไงได้บ้าง?
คงมีหลายๆคนใช่มั้ยคะต้องถูกถอนฟันไปตั้งแต่อายุยังน้อยๆ อาจจะเพราะฟันผุ ฟันแตก หรือบางคน ฟันหายไปแต่กำเนิด ทำให้หัมีช่องว่าง จะยิ้มก็ขาดความมั่นใจ จะใส่ฟันปลอมก็รู้สึกรำคาญ รู้หรือไม่คะในบางกรณีเราสามารใช้วิธีจัดฟันเพื่อช่วยปิดช่องว่างได้ค่ะ แล้วกรณีแบบไหนกันน้าที่ใช้วิธีนี้ได้ มาดูไปด้วยกันนะค้า
1. กรณีที่คนไข้มีฟันซ้อนเกมาก ในขากรรไกรที่มีช่องว่างอยู่ ในกรณีนี้โดยทั่วไปแผนการจัดฟันมักต้องถอนฟันอยู่แล้ว คุณหมอจะใช้ช่องว่างที่มีอยู่แล้วนั้นในการแก้ฟันซ้อนเกได้ค่ะ
2. กรณีคนไข้มีฟันยื่น ในขากรรไกรที่มีช่องว่างอยู่
3. มีฟันคุดซึ่งมีรูปร่างและแนวการขึ้นของฟันที่เหมาะสมที่จะดึงมาปิดช่องของฟันที่ถูกถอนไปได้
อย่างไรก็ตามสามารถเข้ามาให้คุณหมอประเมิน และคุยกัยคุณหมอเรื่องแผนการรักษาได้เลยค่า